โรคกระดูกพรุน ( Osteoporosis ) คือ ภาวะมวลกระดูกของร่างกายต่ำกว่ามาตรฐานจากขาดสารอาหารแคลเซียม ทำให้ปริมาณเนื้อกระดูกบาง ทำให้กระดูกจะแตกหักง่าย เป็นโรคที่ทรมาน พบมากในกลุ่มสตรีที่อายุมาก และ ผู้สุงอายุ และ ภาวะกระดูกพรุน เป็นโรคข้อและกระดูก อัตราการเกิดกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน พบว่า 50 % พบในสตรี และ 20 % พบในเพศชายที่อายุเกิน 65 ปี
มวลกระดูก คือ ความหนาแน่นของกระดูก ซึ่งเทคโนโลยีทางการแพทย์ มีเครื่องมีในการวัดความหนาแน่นของมวลกระดูก (Bone mineral density) คือ เครื่อง DXA ( Dual-energy X-ray absorptiometry ) ซึ่งการแบ่งระดับของมวลกระดูก สามารถแบ่งได้ 4 ระดับ โดยรายละเอียด ดังนี้
มวลกระดูกปกติ ( Normal bone ) ค่ามวลกระดูกอยู่ในช่วง 1 SD
มวลกระดูกบาง ( Osteopenia ) ค่ามวลกระดูกอยู่ระหว่างช่วง -1 ถึง -2.5 SD
มวลกระดูกพรุน ( Osteoporosis ) ค่ามวลกระดูกต่ำกว่า -2.5 SD
มวลกระดูกพรุนอย่างรุนแรง ( Severe or Established osteoporosis ) ค่ามวลกระดูกอยู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยมากกว่า -2.5 SD
สถานการณ์ของโรคกระดูกพรุนในปัจจุบัน
ปัจจุบันทั่วโลกมีสตรีป่วยมีภาวะกระดูกพรุน มากถึง 200 ล้านคนทั่วโลก โดยครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยอยู่ในทวีปยุโรปและทวีปอเมริกา ส่วนที่เหลืออยู่ในแถบประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศในแถบคาบสมุทรแปซิฟิก ซึ่งพบมากในสตรีกลุ่มวัยหมดประจำเดือน พบว่ากลุ่มคนที่อายุ 50 ปีขึ้นไป ผู้หญิง 1 ใน 3 คน และ ผู้ชาย 1 ใน 5 คน มีโอกาสเสี่ยงภาวะกระดูกพรุน สำหรับคนที่อายุ 60 ปีขึ้นไป มีโอกาสเสี่ยงโรคกระดูกพรุนสูงถึง 60% โดยบริเวณกระดูกแตกหักง่ายที่สุด คือ กระดูกปลายแขน กระดูกต้นแขน กระดูกสะโพก และกระดูกสันหลัง
โรคกระดูกพรุนในประเทศไทย
โรคกระดูกพรุนเป็นโรคที่พบมากในกลุ่มผู้สูงอายุ ข้อมูลจากมูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2552 พบว่าอัตราการตายหลังจากกระดูกสะโพกหัก ภายใน 5 ปี มีมากถึงร้อยละ 30 และสถิติจำนวนประชากรตั้งแต่ปี 2555 พบว่า จำนวนประชากรผู้สูงอายุของประเทศไทยที่เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว และ อัตราจำนวนสตรีมากกว่าเพศชายถึง 3 เท่า ซึ่งทำให้ผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนก็จะเพิ่มขึ้นโดยไม่ต้องคาดเดา โดยเฉพาะกลุ่มคนอายุ 70 ปีขึ้นไป
ชนิดของโรคกระดูกพรุน
สำหรับโรคกระดูกพรุนที่พบเห็นในปัจจุบัน สามารถแบ่งชนิดของโรคจากสาเหตุของกระดูกพรุน 2 ชนิด คือ โรคกระดูกพรุนปฐมภูมิ และ โรคกระดูกพรุนทุติยภูมิ รายละเอียด ดังนี้
โรคกระดูกพรุน ชนิดปฐมภูมิ ( Primary osteoporosis ) เป็นภาวะกระดูกพรุนที่มีสาเหตุจากสุขภาพของมวลกระดูกผิดปรกติเอง เกิดจากภาวะการขาดฮอร์โมนเพศตามวัยและการเสื่อมของร่างกายตามวัย สามารถแบ่งได้ใน 2 กลุ่มผู้ป่วย คือ กลุ่มผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนในสตรีวัยหมดประจำเดือน ( Postmenopausal osteoporosis หรือ Osteoporosis type I ) และ ผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ ( Senile osteoporosis หรือ Osteoporosis type II )
โรคกระดูกพรุน ชนิดทุติยภูมิ ( Secondary osteoporosis ) เป็นภาวะกระดูกพรุนที่มีสาเหตุจากภาวะอื่นๆที่ไม่ได้เกิดจากตัวกระดูกเอง เช่น ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเกี่ยวกับระบบฮอร์โมนร่างกาย การขาดสารอาหาร การใช้ยาบางชนิด รวมถึงการสูบบุหรี่
สาเหตุของการเกิดโรคกระดุกพรุน
สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคกระดูกพรุน เทคโนโลยีและความรู้ทางการแพทย์ในปัจจุบัน ยังไม่สามารถทราบสาเหตุที่แท้จริงของภาวะกระดูกพรุ่น แต่พบว่าเกิดจาก การขาดความสมดุลระหว่างเซลล์สร้างกระดูก ( Osteoblast ) และ เซลล์ดูดซึมทำลายกระดูก ( Osteoclast ) โดยปัจจัยของการทำให้กระดูกพรุน สามารถสรุปได้ดังนี้
ความเสื่อมของร่างกายตามอายุ เมื่อร่างกายอายุมากขึ้น ระบบกระดูกก็เปลี่ยนไปตามอายุการใช้งาน
ภาวะการขาดฮอร์โมนเพศ เนื่องจากฮอร์โมนเพศมีหน้าที่ช่วยการสร้างเซลล์กระดูก สตรีหลังหมดประจำเดือนจึงมีความเสี่ยงภาวะกระดูกพรุนสูง
ภาวะทางโภชนาการ การรับประทานอาหารที่ขาดสารอาหารที่สำคัญต่อกระดูก ส่งผลต่อสุขภาพของกระดูก
ภาวะการพักผ่อนและการออกกำลังกาย การพักผ่อนทำให้ร่างกายได้พื้นฟูสภาพร่างกายให้กลับมาพร้อมใช้งานหากขาดการพักผ่อนร่างกายจะเสื่อมโทรม รวมถึงการออกกำลังกายทำให้กระตุ้นการเคลื่อนไหว ทำให้กระตุ้นการทำงานของเซลล์กระดูก
ภาวะการถ่ายทอดทางพันธุกรรม กลุ่มคนที่มีคนในครอบครัวเกิดโรคกระดูกพรุน มีความเสี่ยงสูงกว่าทั่วไป
ภาวะโรคแทรกซ้อนจากโรคอื่นๆ เช่น โรคไทรอยด์ โรคเนื้องอกของต่อมใต้สมอง เป็นต้น
อาการของผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน
ผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนจะไม่แสดงอาการผิดปรกติของอวัยวะอื่นๆ นอกจากเกิดที่กระดูกและความเจ็บปวดจากกระดูกหักเท่านั้น ไม่มีสัญญานเตือนการเกิดโรค ซึ่งอาการโรคกระดูกพรุน โดยทั่วไป คือ กระดูกหักได้ง่าย โดยเฉพาะ ปลายกระดูกแขน กระดูกข้อมือ และ เกิดการยุบ ตัวของกระดูกสันหลัง หรือ กระดูกสันหลังเสื่อม หลังจากมีภาวะกระดูกแตกหักจะทำให้เกิดอาการปวดกระดูกแบบเรื้อรัง ไม่สามารถใช้ชีวิตตามปรกติได้
การรักษาโรคกระดูกพรุน
สำหรับการโรคกระดูกพรุน ไม่สามารถรักษาให้กระดูกกลับคืนสภาพเดิมได้ ซึ่งแนวทางการรักษาโรคกระดูกพรุน จะใช้การประคับประครองร่างกายให้ความเสื่อมของมวลกระดูกลดลง รักษาตามอาการ ด้วย ยา การผ่าตัด และ การปรับสภาพแวดล้อมเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่ทำให้กระดูกหัก แนวทางการรักษาโรคกระดูกพรุน มีดังนี้
การใช้ยารักษาโรค ซึ่งยาที่ใช้ในการักษาเป็นยากลุ่มยาฮอร์โมนเพศหญิง ยาเพื่อรักษาระดับฮอร์โมนเพศ ที่มีผลต่อการรักษาสภาพของมวลกระดูกให้เสื่อมช้าลง
การผ่าตัด เพื่อรักษากระดูกที่แตกหัก เพื่อลดความเจ็บปวดจากเนื้อเยื่ออักเสบ
การปรับสิ่งแวดล้อม เช่น หลีกเลี่ยงการขึ้นที่สูง ปรับสิ่งแวดล้อมป้องกันการหกล้ม ที่เป็นสาเหตุของกระดูกหัก
การป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน
โรคกระดูกพรุนเกิดจากสุขภาพของมวลกระดูกลดลง ซึ่งมีหลายสาเหตุที่ทำให้มวลกระดูกเสื่อมลง แนวทางการป้องกันสามารถป้องกันที่ปัจจัยของการเกิดโรค แนวทางการป้องกันโรคกระดูกพรุน มีดังนี้
เลิกสูบบุหรี่
พักผ่อนให้เพียงพอ
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
ปรับสภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อลีกเลี่ยงอุบัติเหตุจากทำให้หกล้ม
โรคกระดูกพรุน ภาวะกระดูกแตกหักง่าย โรคที่พบมากในสังคมผู้สูงอายุ เกิดมากกับสตรีวัยหมดประจำเดือน สาเหตุของกระดูกพรุนเกิดจากอะไร แนวทางการรักษาโรคกระดูกพรุนทำอย่างไร
วิธีป้องกัน การเกิดโรคกระดูกพรุนและกระดูกหัก ?
- รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดีสูง อย่างสม่ำเสมอ
- ออกกำลังกายเป็นประจำ( weight-bearing and muscle-strengthening exercise )เช่น การเดิน การวิ่ง เต้นแอโรบิก กระโดดเชือก รำมวยจีน เต้นรำ เป็นต้น ร่วมกับการยกน้ำหนัก จะช่วยเพิ่มความแข็งแรง ทั้งกระดูกและกล้ามเนื้อ
- รับแสงแดด ช่วยให้ร่างกายสังเคราะห์วิตามินดี ควรจะออกไปรับแสงแดดอ่อนๆ ยามเช้าหรือยามเย็น วันละ 10-15 นาที
- รักษาน้ำหนักตัวอย่าให้ต่ำกว่าเกณฑ์
- หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระดูกพรุน เช่น
ไม่ดื่มน้ำอัดลมปริมาณมาก เพราะกรดฟอสฟอริกในน้ำอัดลมทำให้เกิดการสลายแคลเซียมออกจากกระดูกมากขึ้น
หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ ในปริมาณมาก เพราะแอลกอฮอล์จะขัดขวางการดูดซึมแคลเซียมของลำไส้เล็ก
งดการสูบบุหรี่ เพราะบุหรี่กระตุ้นให้เกิดการสลายแคลเซียมออกจากกระดูกมากขึ้น
6.ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจกรองโรคกระดูกพรุน ในผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกพรุนหรือกระดูกหัก
10 พฤติกรรมทำลายกระดูก
- การนั่งไขว่ห้าง จะทำให้น้ำหนักตัวลงที่ก้นข้างใดข้างหนึ่ง เป็นผลให้กระดูกคด
- การนั่งหลังงอ หลังค่อม เช่น การอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ติดต่อกันนานๆ เป็นชั่วโมง จนทำให้กล้ามเนื้อเกร็งค้าง เกิดการคั่งของกรดแล็คติก มีอาการเมื่อยล้า ปวด และมีปัญหาเรื่องกระดูกผิดรูปตามมา
- การนั่งกอดอก จะทำให้หลังช่วงบน สะบัก และหัวไหล่ถูกยืดยาวออก หลังช่วงบนค่อมและงุ้มไปด้านหน้า ทำให้กระดูกคอยื่นไปด้านหน้า มีผลต่อเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงแขน อาจทำให้มืออ่อนแรงหรือชาได้
- การนั่งเบาะเก้าอี้ไม่เต็มก้น จะทำให้กล้ามเนื้อหลังต้องทำงานหนัก เพราะเป็นฐานในการรับน้ำหนักตัว
- การยืนพักขาลงน้ำหนักด้วยขาข้างเดียว การยืนที่ถูกต้อง ควรลงน้ำหนักที่ขาทั้ง 2 ข้างเท่าๆกัน โดยยืนให้ขากว้างเท่าสะโพก จึงจะทำให้เกิดความสมดุลของโครงสร้างร่างกาย
- การยืนแอ่นพุง/หลังค่อม การยืนหลังตรง แขม่วท้องเล็กน้อยเพื่อเป็นการรักษาแนวกระดูกช่วงล่างไม่ให้แอ่น และทำให้ไม่ปวดหลัง
- การใส่ส้นสูงเกิน 1 นิ้วครึ่ง จะทำให้แนวกระดูกสันหลังช่วงล่างแอ่นมากกว่าปกติ ซึ่งจะนำมาสู่อาการปวดหลัง
- การยกของหนักแบบไม่ย่อเข่า ให้ใช้วิธีย่อเข่าแทนการก้มหลังเพื่อยกของ ห้ามบิดเอี้ยวตัวขณะยกของหนัก
9.การสะพายกระเป๋าหนักข้างเดียว ไม่ควรสะพายกระเป๋าข้างใดข้างหนึ่งต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ควรเปลี่ยนเป็นการถือกระเป๋าโดยใช้ร่างกายทั้ง 2 ข้างให้เท่าๆ กัน อย่าใช้แค่ข้างใดข้างหนึ่งตลอด เพราะจะทำให้เกิดการทำงานหนักอยู่ข้างเดียว ส่งผลให้กระดูกสันหลังคดได้
10.การขดตัว/นอนตัวเอียง หากรู้แล้วว่า พฤติกรรมไหนที่เสี่ยงต่อกระดูกเสื่อมแล้ว ก็ให้คุณสังเกตตัวเองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หันมาดูแลรักษากระดูกของเรากันดีกว่า ให้กระดูกนั่นอยู่เสริมบุคลิกภาพกับเราไปอีกนานๆ